​บริการติดตั้ง GPS (Axis Service)

​บริการติดตั้ง GPS​ ตามมาตรฐานกรมการขนส่ง​ ราคาโปรโมชั่น​ รับประกันการใช้งาน รถสิบล้อ ราคาโปร 6,900 บาท รถตู้ 6,500 บาท โทร 081-9924199

ประกันภัยน่าสนใจ ราคาไม่แพง ประกันภัยยอดนิยม

ประกันภัยภาคสมัครใจ มีให้เลือกตามกำลังและความเหมาะสมของลูกค้า ประกันภัยที่นำมาให้ทราบนี้เป็น ประกันภัยยอดนิยมที่มีผู้เลือกใช้มากที่สุดค่ะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้นะค่ะ

กรมการขนส่งทางบก ย้ำ!!! ป้ายแดงไม่มีขาย อย่าหลงเชื่อซื้อ “ป้ายแดงปลอม” ที่ประกาศขายในสื่อสังคมออนไลน์ เตือน!!! ใช้ป้ายแดงปลอมผิดกฎหมายอาญามีโทษถึงขั้นจำคุก

กรมการขนส่งทางบก ย้ำ!!! ป้ายแดงไม่มีขาย อย่าหลงเชื่อซื้อ “ป้ายแดงปลอม” ที่ประกาศขายในสื่อสังคมออนไลน์ เตือน!!! ใช้ป้ายแดงปลอมผิดกฎหมายอาญามีโทษถึงขั้นจำคุก แนะนำวิธีสังเกตป้ายแดงที่ถูกต้อง มีตัวย่อนูน ขส ที่มุมด้านล่างขวา มีลายน้ำตราเครื่องหมายราชการกรมการขนส่งทางบก

นายณันทพงศ์ เชิดชู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่าป้ายแดงเป็นเครื่องหมายพิเศษที่กรมการขนส่งทางบกออกให้แก่บริษัทตัวแทนจำหน่ายรถสำหรับใช้ติดรถเพื่อนำไปส่งให้ลูกค้าหรือนำรถไปซ่อมแซม หรือเพื่อไปใช้ติดตัวรถที่จำหน่ายและอยู่ระหว่างจดทะเบียนเท่านั้น โดยแต่ละบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถจะมีหมวดและหมายเลขป้ายแดงหมุนเวียน โดยต้องใช้คู่กับสมุดคู่มือประจำรถและใบอนุญาตให้ใช้รถด้วย ไม่ใช่ป้ายทะเบียนส่วนบุคคลที่ผู้ใดจะนำไปจำหน่ายต่อได้ ซึ่งล่าสุด กรมการขนส่งทางบกได้ตรวจสอบพบการประกาศขายป้ายแดงในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งพบว่าเป็นการ “ป้ายแดงปลอม” เนื่องจากได้ประสานบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถที่ครอบครองแผ่นป้ายหมายเลขและหมวดดังกล่าวแล้ว พบว่ายังใช้หมุนเวียนกับผู้ซื้อรถรอการจดทะเบียนอยู่ กรมการขนส่งทางบกจะ ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มมิจฉาชีพทั้งขบวนการ ฐานทำให้ภาครัฐเสียหาย ฉ้อโกงประชาชน ปลอมแปลงเอกสารราชการ ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อป้ายแดงที่มีการประกาศขายดังกล่าว เนื่องจากการใช้ป้ายแดงปลอมมีความผิดตามกฎหมายอาญา เข้าข่ายความผิดฐานใช้เอกสารทางราชการปลอม ซึ่งมีโทษถึงขั้นจำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี ปรับตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับวิธีการสังเกตป้ายแดงที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถสังเกตไดโดยดูที่ตัวแผ่นป้ายแดงต้องมีตัวย่อนูน ขส ที่มุมด้านล่างขวา มีลายน้ำตราเครื่องหมายราชการกรมการขนส่งทางบก (รูปมาตุลีเทพบุตรขับรถเทียมม้า) ปรากฏในแผ่นป้ายทะเบียนรถ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้

นายณันทพงศ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากปัญหาป้ายแดงปลอมที่กรมการขนส่งทางบกตรวจสอบพบแล้วนั้น ปัจจุบันยังพบว่ามีการนำรถใหม่ป้ายแดงมาใช้งานบนถนนเป็นระยะเวลานาน โดยไม่นำรถจดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีให้ถูกต้อง โดยอาจมีเจตนาหลบเลี่ยงภาษีรถประจำปี ซึ่งหากนำรถไปก่อเหตุอาชญากรรมเฉี่ยวชนแล้วหลบหนี หรือการโจรกรรมรถยนต์จะยากต่อการติดตามตรวจสอบ และยังมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ฐานใช้รถโดยไม่จดทะเบียน มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท โดยกรมการขนส่งทางบกได้เข้มงวดกวดขันจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรม และขอความร่วมมือผู้ที่ซื้อรถใหม่รีบนำรถมาจดทะเบียนให้ถูกต้อง สำหรับการจดทะเบียนรถใหม่ สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาเพียง 1 วัน เท่านั้น และจะได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถและเครื่องหมายการเสียภาษี (ป้ายวงกลม) เพื่อนำไปติดที่รถทันที ในวันที่นำรถมาจดทะเบียน เพียงนำหลักฐานการได้มาของรถ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หลักฐานการทำ พ.ร.บ. และนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ ณ กรมการขนส่งทางบกหรือ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ประสงค์จดทะเบียนรถ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.1584

กรมการขนส่งทางบก ยืนยัน!!! ยังไม่มีการปรับขึ้นค่าโดยสารรถตู้โดยสารทุกเส้นทาง หากพบฝ่าฝืนเก็บค่าโดยสารเกินที่ทางราชการกำหนด ปรับในอัตราสูงสุดทุกกรณี

กรมการขนส่งทางบก ยืนยัน!!! ยังไม่มีการปรับขึ้นค่าโดยสารรถตู้โดยสารทุกเส้นทาง หากพบฝ่าฝืนเก็บค่าโดยสารเกินที่ทางราชการกำหนด ปรับในอัตราสูงสุดทุกกรณี เดินหน้า!!! กวดขันจับกุมรถตู้โดยสารสาธารณะเรียกเก็บค่าโดยสารเกิน กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแลผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขอัตราค่าโดยสารอย่างเข้มงวดด้วย

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า จากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนว่านับตั้งแต่กรมการขนส่งทางบก ได้บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการและเจ้าของรถตู้โดยสารทุกคันต้องปรับปรุงแก้ไขการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารในรถตู้โดยสารสาธารณะทุกประเภทให้ไม่เกิน 13 ที่นั่ง ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะนั้น พบว่าขณะนี้มีผู้ประกอบการรถตู้บางรายบางเส้นทางเรียกเก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก 5 บาท กรมการขนส่งทางบกขอยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารรถตู้โดยสารสาธารณะในทุกเส้นทางแต่อย่างใด  ดังนั้น หากตรวจสอบพบการนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงมาใช้งาน ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัย การเดินรถไม่เป็นไปตามจำนวนเที่ยว รวมทั้ง “การเก็บค่าโดยสารเกินราคา” หรือการกระทำผิดอื่นๆ พิจารณาลงโทษขั้นสูงสุดในทุกกรณีความผิด พร้อมบันทึกประวัติการกระทำความผิด เพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาต่อใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หรือใบอนุญาตขับรถนอกจากนี้ ยังยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย ตามคำสั่ง คสช.ที่ 15/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มความปลอดภัยในรถโดยสารสาธารณะ นอกจากโทษปรับสูงสุดตามกฎหมายแล้ว สามารถสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถ ระงับการใช้รถ หรือพักใช้ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ในกรณีการฝ่าฝืนไม่ควบคุมกำกับดูแลผู้ขับรถ ปล่อยให้มีการบรรทุกผู้โดยสารเกินหรือเก็บค่าโดยสารเกินอัตราที่กำหนด ซึ่งมาตรการดังกล่าว กรมการขนส่งทางบกได้กำชับให้สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ ตรวจและจับกุมรถตู้โดยสารทุกคัน ทุกเส้นทาง ทั้งระหว่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ ด้วยมาตรการขั้นเด็ดขาด และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กรมการขนส่งทางบกขอขอบคุณผู้ประกอบการขนส่งที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการปรับปรุงจำนวนที่นั่ง นำรถเข้ารับการตรวจสภาพและแก้ไขรายการทางทะเบียนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 90% จากจำนวนรถตู้โดยสารสาธารณะทั้งหมด

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของประเด็นที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐพิจารณาปรับอัตราค่าโดยสารนั้น ด้านกรมการขนส่งทางบกมีแนวคิดปรับปรุงอัตราค่าโดยสารให้สะท้อนกับต้นทุนที่แท้จริงที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้ในการบริหารการเดินรถได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและปลอดภัย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาที่เป็นหน่วยงานทางวิชาการและเป็นหน่วยงานกลาง สำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร ให้สะท้อนกับต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ รอบด้าน ก่อนเสนอพิจารณาเชิงนโยบาย ควบคู่การสร้างการยอมรับ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจ สร้างการรับรู้ การประชาสัมพันธ์ ทุกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนให้ทราบโดยทั่วกันก่อนที่จะประกาศกำหนดจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพื่อนำไปใช้กำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการที่จะสามารถบริหารการเดินรถได้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อยกระดับความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยรถสาธารณะของประชาชนให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะ ได้ดำเนินการจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ โดยดำเนินการยกระดับทุกมาตรการตามแผนปฏิบัติการร่วมมาโดยตลอด อาทิ การติดตั้ง GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบก เพื่อสร้างระบบการติดตามพฤติกรรมการขับขี่แบบเรียลไทม์และการควบคุมแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาครัฐและผู้ประกอบการ ซึ่งรถโดยสารสาธารณะทุกคันจะติดตั้งครบถ้วนภายในปี 2560 และรถตู้โดยสารสาธารณะหมวด 2 (เส้นทางกรุงเทพ-ต่างจังหวัด) ทุกคันต้องติดตั้งให้ครบถ้วนทุกคันภายใน 31 มีนาคม 2560 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนรถตู้โดยสารสาธารณะ หมวด 2 ติดตั้ง GPS ครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังมีแนวทางในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในอนาคตเพื่อความยั่งยืน เช่น โครงการศึกษาความปลอดภัยในการใช้รถตู้โดยสารประจำทาง ซึ่งจากผลการศึกษาที่เสนอให้ใช้รถโดยสารขนาดเล็กแทนรถตู้โดยสารซึ่งปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างพิจารณาแผนดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ประกอบการได้รับผลกระทบน้อยที่สุด การปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกรมการขนส่งทางบกจะเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการแต่ละรายโดยตรง และโครงการศึกษาการพัฒนาความปลอดภัยและคุณภาพการให้บริการของรถโดยสารประจำทาง โดยพิจารณาโครงสร้างต้นทุนการประกอบการ และแนวทางการอุดหนุน (Subsidy) ทั้งนี้ ทุกมาตรการ โครงการที่กรมการขนส่งทางบกเร่งดำเนินการจะเป็นการส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพการให้บริการรถโดยสารสาธารณะทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ตอบสนองความต้องการของประชาชนทุกคนทุกพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวทิ้งท้ายว่า กรณีประชาชนพบรถตู้โดยสารสาธารณะให้บริการไม่ปลอดภัย บรรทุกเกิน เก็บค่าโดยสารเกิน สามารถแจ้งกับผู้ตรวจการขนส่งทางบกได้โดยตรง หรือร้องเรียนผ่านสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ ผ่านทางเว็บไซต์ที่ http://ins.dlt.go.th/cmpweb/, ผ่านทาง E-mail ที่ dlt_1584complain@hotmail.com, ผ่านทาง facebook ชื่อ “กตส กรมการขนส่งทางบก” นอกจากนี้ยังสามารถร้องเรียนผ่านทาง LINE ID ในชื่อ “1584dlt” หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเอง ณ กรมการขนส่งทางบก โดยระบุรายละเอียดรถและผู้ขับรถคันที่กระทำความผิด เช่น หมายเลขทะเบียนรถ ชื่อ-นามสกุลผู้ขับรถ วันเวลาสถานที่เกิดเหตุ ให้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้กระบวนการติดตามตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษเป็นไปด้วยความรวดเร็ว

ความเข้าใจผิดๆ เรื่องต่อทะเบียนรถ

– ปัจจุบันรถไม่ต้องติดป้ายวงกลมโชว์หน้ารถแล้ว

ผิด! แม้ว่าปัจจุบันจะเปลี่ยนจากป้ายวงกลมเป็นป้ายสี่เหลี่ยมแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ถูกต้องคือคุณต้องติดป้ายสี่เหลี่ยมยืนยันการเสียภาษีตามที่กฏหมายกำหนดไว้หน้ารถให้เห็นชัดเจน ถ้าไม่ติดถือว่ามีความผิด ส่วนป้ายแสดงการทำ พ.ร.บ. กฏหมายไม่ได้ระบุว่าต้องติดโชว์ เพราะปัจจุบันรถทุกคันที่ต้องเสียภาษีประจำปีจะต้องทำ พ.ร.บ. แล้วเท่านั้น ดังนั้นการติดป้ายเสียภาษีที่หน้ารถจึงเป็นการบ่งบอกว่ารถคันนี้ทำพ.ร.บ. และเสียภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว

– รถติดไฟแนนซ์อยู่ เจ้าของรถไม่สามารถไปต่อภาษีหรือ พ.ร.บ. ด้วยตัวเองได้ ต้องให้ไฟแนนซ์จัดการให้ทั้งหมด

ผิด! เพราะคุณสามารถขอให้ไฟแนนซ์ Fax สำเนาทะเบียนรถมาให้คุณไปชำระค่าภาษีและพ.ร.บ. รถยนต์เองได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าดำเนินการต่อพ.ร.บ.-ทะเบียนรถของไฟแนนซ์อีก 100-500 บาทเลยค่ะ

ขั้นตอนต่อทะเบียนรถยนต์ เรื่องง่ายๆ ที่คุณก็ทำได้

หลายคนสงสัยว่าการต่อทะเบียนรถประจำปีทำอย่างไร ต้องจ่ายเท่าไร ทำที่ไหนได้บ้าง ลองดู 4 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับมือใหม่หัดต่อทะเบียนรถยนต์มาบอก ดังนี้

  1. เตรียมเอกสารให้พร้อม
  2. คำนวณเงินที่ต้องจ่าย
  3. การขอใบตรวจสภาพรถ (ตรอ.) กรณีรถเกิน 7 ปี
  4. เลือกช่องทางต่อทะเบียนรถที่สะดวกที่สุด

รู้ก่อนต่อทะเบียนรถ

“การต่อทะเบียนรถยนต์” หรือ “การต่อภาษีรถยนต์” เป็นเรื่องที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำทุกปี โดยคุณสามารถต่อก่อนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน แต่ถ้าคุณลืมหรือไปต่อล่าช้า สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ…

  • การต่อทะเบียนล่าช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าต่อทะเบียน
  • ถ้าขาดต่อทะเบียนเกิน 3 ปี รถของคุณจะถูกระงับการใช้งานทันที ต้องไปเสียค่าปรับย้อนหลังและทำเรื่องจดทะเบียนรถใหม่
  • ขาดต่อทั้งทะเบียนและ พ.ร.บ. ถูกปรับ 20,000 บาท
    • รถไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    • ใช้รถไม่จดทะเบียนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    • ใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ขั้นตอนที่ 1 เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อทะเบียน

1. สำเนาสมุดทะเบียนรถ

2. หลักฐานการทำ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ยังไม่หมดอายุ

3. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้ว 7 ปีขึ้นไป) หรือที่เรียกว่า ตรอ.ซึ่งจะมีป้ายติดอยู่ตามอู่รถทั่วไป

 

ขั้นตอนที่ 2 รู้ก่อนจ่าย… รถของคุณต้องเสียภาษีเท่าไร

อัตราการเสียภาษีรถขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ มาลองดูกันซิว่ารถของคุณต้องเสียภาษีประจำปีละเท่าไร

1. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ คือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) รถ (0.5-1.5 บาท/cc) ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี ลดให้ 10% ขึ้นไป (ดูตาราง)

ตัวอย่างการคำนวณ
รถยนต์ ยี่ห้อ BMW รุ่น 330 อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 2,979 cc
1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600×0.5 = 300 บาท
2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
3. เกิน 1800 cc ละ 4 บาท = (2,979 – 1,800) x 4 = 1179 x 4.00 = 4,716 บาท
รวมค่าภาษี
รวมทั้งหมด 300 + 1,800 + 4,716 บาท = 6,816 บาท
*หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)

อัตราภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
เก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) บาท
1. ความจุกระบอกสูบ
1.1 600 ซีซี ๆ ละ 0.05
1.2 601 – 1,800 ซี.ซี. ๆ ละ 1.50
1.3 เกิน 1,800 ซี.ซี. ๆ ละ 4.00
2. เป็นนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ 2 เท่า
3. เป็นรถเก่าใช้มานานเกิน 5 ปี ให้ลดภาษี ร้อยละ
3.1 ปีที่ 6 10
3.2 ปีที่ 7 20
3.3 ปีที่ 8 30
3.4 ปีที่ 9 40
3.5 ปีที่ 10 และปีต่อๆ ไป 50
4. เป็นรถที่ใช้ล้ออย่างอื่น นอกจากล้อยางกลวง เพิ่มอีก 1/2

2. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้

น้ำหนักรถ/กิโลกรัม อัตราภาษี
501- 750 450 บาท
751 – 1000 600 บาท
1001 – 1250 750 บาท
1251 – 1500 900 บาท
1501 – 1750 1,050 บาท
1751 – 2000 1,350 บาท
2001 – 2500 1,650 บาท

3. รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้

น้ำหนักรถ/กิโลกรัม อัตราภาษี
ไม่เกิน 1800 1,300 บาท
เกิน 1800 1,600 บาท

– กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์เป็นก๊าซ CNG/LPG จะต้องขอเอกสารรับรองการตรวจสภาพรถประจำปีตัวจริงไปด้วยค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 สำรวจว่ารถคุณอยู่ในกลุ่มต้องตรวจสภาพรถหรือไม่

การตรวจสภาพรถเพื่อให้ได้ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) ที่ใช้รับรองสภาพการใช้งานของรถยนต์ ณ ปัจจุบัน ว่าสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ เพื่อประกอบการเสียภาษีประจำปีสำหรับรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี (โดยนับจากวันจดทะเบียน) ต้องนำรถไปดำเนินการเข้าตรวจสภาพที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ซึ่งคุณสามารถสังเกตเครื่องหมาย ที่มีคำว่า “สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)” ได้ค่ะ

รถประเภทใด ต้องไปตรวจสภาพรถ

  1. รถยนต์ที่มีการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่มีการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป
  2. เจ้าของสามารถนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี
  3. ราคาค่าตรวจ
    • รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
    • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
    • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท

ข้อยกเว้น! รถต่อไปนี้ไม่สามารถตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ได้ ต้องไปที่กรมการขนส่งเท่านั้น

  1. รถที่ดัดแปลงสภาพใหม่ เช่น เปลี่ยนสีหรือตัวถังใหม่
  2. รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถหรือเลขเครื่องยนต์จางหายหรือมองไม่ชัด
  3. รถที่เจ้าของได้แจ้งไม่ใช้งาน
  4. รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
  5. รถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี

ขั้นตอนที่ 4 เลือกไปต่อทะเบียน-พ.ร.บ. ที่ไหนดี

ช่องทางการต่อ
ทะเบียนรถยนต์
ข้อมูลเปรียบเทียบ
อายุรถ เวลาทำการ วิธีชำระเงิน
กรมการขนส่งทางบก ไม่จำกัด เวลาราชการ เฉพาะเงินสด
ที่ทำการไปรษณีย์ ไม่จำกัด เวลาราชการ เฉพาะเงินสด
ห้างบิ๊กซี
(เฉพาะ 13 สาขา)
ไม่จำกัด เสาร์-อาทิตย์ เฉพาะเงินสด
เคาน์เตอร์เซอร์วิส ไม่จำกัด 24 ชม. เฉพาะเงินสด
ไฟแนนซ์ ไม่จำกัด แล้วแต่บริษัท เฉพาะเงินสด
เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง ไม่เกิน 7 ปี 24 ชม. เงินสดและบัตรเครดิต
เว็บไซต์ SILKSPAN.COM ไม่เกิน 7 ปี 24 ชม. เงินสดและบัตรเครดิต (ฟรีค่าธรรมเนียม)

ช่องทางการต่อทะเบียนเหล่านี้มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะสะดวกเลือกวิธีไหน แต่ไม่ว่าจะเลือกช่องไหนคุณก็ควรศึกษาข้อมูลการต่อทะเบียนรถล่วงหน้า อย่างน้อย 3 เดือน พร้อมกับเตรียมเอกสารและเงินที่ต้องจ่ายให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และไม่พลาดการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีค่ะ

ความรู้เกี่ยวกับประกันภัย

ประเภทของประกันภัยรถยนต์

     1. การประกันภัยภาคบังคับ
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พ.ร.บ.” เป็นการประกันภัยที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535) เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้ การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

     2. การประกันภัยภาคสมัครใจ
การประกันภัยประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของผู้ ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย )

การประกันภัยรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • การประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือขับขี่โดยได้รับ ความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
  • การประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลที่ระบุชื่อใน กรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ แต่ถ้าไม่ใช้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดชอบต่อ ความเสียหายส่วนแรก ด้วย

     2.1 กรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 1

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

     2.2 กรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 2

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

     2.3 กรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 3

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

     2.4 กรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 4

  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

     2.5 กรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 5

แบบประกัน 2 พลัส ( 2+ )

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความ รับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก (กรณีชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียของตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัย ไม่เกิน 2,000 บาท)
  • ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

     แบบประกัน 3 พลัส ( 3+ )

  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • ความ รับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก (กรณีชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียของตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัย ไม่เกิน 2,000 บาท)

ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองสำหรับประกันภัยภาคสมัครใจประเภทต่างๆ

ประเภทประกันภัย

ความคุ้มครองประเภทต่างๆ

อนุสัญญาหรือเอกสารแนบท้าย

ความรับผิดต่อชีวิตร่างกาย
หรืออนามัยของบุคคลภายนอก

ความรับผิดต่อทรัพย์สิน
ของบุคคลภายนอก

ความเสียหาย
ต่อตัวรถยนต์

ความสูญหายและไฟไหม้
ของตัวรถยนต์

อุบัติเหตุส่วนบุคคล

ค่ารักษาพยาบาล

ประกันตัวผู้ขับขี่

1

X

X

X

X

X

X

X

2

X

X

X

X

X

X

3

X

X

X

X

X

4

X

5 (2+)

X

X

*

X

X

X

X

5 (3+)

X

X

*

X

X

X

* กรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกและเป็นฝ่ายผิด จะต้องรับผิดชอบค่าเสียความเสียหายส่วนแรกต่อตัวรถยนต์ผู้เอาประกันภัยไม่เกิน 2,000 บาท

ความคุ้มครองต่างๆ สำหรับประกันภัยรถยนต์

     1. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
บริษัท ผู้รับประกันภัยจะเข้ารับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้จะแบ่งเป็น

     1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย
ซึ่ง จะคุ้มครองความรับผิดต่อความบาดเจ็บ มรณะ โดยบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตาม กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ยกเว้น ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่
     1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
บริษัท ประกันภัยจะรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกตาม ความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ยกเว้น เป็นทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่

     2. รถยนต์เสียหาย สูญหาย ไฟไหม้

     2.1 ความเสียหายต่อรถยนต์
ความ คุ้มครองต่อความเสียหายต่อรถยนต์ โดยบริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในระยะเวลาเอาประกันภัย รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์
     2.2 ความเสียหายส่วนแรก
เงื่อนไข ของผู้เอาประกันภัยจะเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจำนวนเงิน ที่ระบุในกรมธรรม์ สำหรับกรณีที่รถคันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหาย
     2.3 รถยนต์สูญหายไฟไหม้
การ สูญหายจะรวมถึงการสูญหายทั้งคัน สูญหายบางส่วน สูญหายจากการลักทรัพย์ของลูกจ้าง หรือบุคคลใดเป็นผู้ลักทรัพย์ก็ตาม การเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้ด้วยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตาม

     3. ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (อนุสัญญา)

     3.1 อุบัติเหตุส่วนบุคคล
คุ้ม ครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกัน ภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
     3.2 ค่ารักษาพยาบาล
คุ้ม ครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
     3.3 การประกันตัวผู้ขับขี่
กรณี ที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

     4. ส่วนลดระบุอายุผู้ขับขี่
เป็น การคุ้มครองความรับผิดหรือความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันกันภัย ในกรณีที่บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ (กรณีถ้าไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหาย) เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ

  • ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%
  • ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%
  • ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%
  • ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%

     5. ส่วนลดความเสียหายส่วนแรก
เป็น ข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าความเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ/หรือความเสียหายส่วนแรกของความเสียหายต่อรถยนต์

     6. ส่วนลดกลุ่ม
กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10%

     7. ส่วนลดประวัติดี
ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ซึ่งคำนวณจากประวัติปีที่ผ่านมา